นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย หรือวิชาที่มีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา เป็นการศึกษากฎเกณฑ์ประพฤติของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม คนที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะมีความรอบรู้เรื่องกฎหมาย ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยฝึกฝนให้นักศึกษาใช้วิชานิติศาสตร์ให้ถูกต้อง รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจในกฎหมาย ภายใต้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความหนักแน่น มั่นคง มีจิตสำนึกทางสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงาน และใช้ความรู้ทางกฎหมายในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
สาขาที่เปิดสอน
สาขากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สาขากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ
สาขากฎหมายมหาชน
สาขาวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม
สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีความจำดี มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความสามารถในการเขียนและการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี รักการอ่าน รักการค้นคว้า มีความเป็นธรรม มีความกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้อง มีทักษะและกระบวนการคิดที่เป็นระบบ
แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพ และยังสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ ทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ตั้งสำนักงานทนายความ สามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแพ่ง เนติบัณฑิตสภาเพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
สถาบันที่เปิดสอน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์
No comments:
Post a Comment