Monday, December 12, 2016

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9

1.โครงการแกล้งดิน



แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้










2.โครงการปลูกหญ้าแฝก 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ









3.แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง:เกษตรทฤษฎีใหม่



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%

จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป









4.โครงการฝนหลวง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน








5.กังหันน้ำชัยพัฒนา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร




Sunday, July 31, 2016

วันแม่






ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
 
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว 
 
ความหมายของคำว่า "แม่"
 
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
 
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
 
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
 
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
 
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
 
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
 
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น






ที่มา
http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/วันแม่แห่งชาติ-กลอนวันแม่-ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ.html

Friday, June 24, 2016

คณะ นิติศาสตร์



รายละเอียดของคณะ

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย หรือวิชาที่มีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา เป็นการศึกษากฎเกณฑ์ประพฤติของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม คนที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะมีความรอบรู้เรื่องกฎหมาย ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยฝึกฝนให้นักศึกษาใช้วิชานิติศาสตร์ให้ถูกต้อง รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจในกฎหมาย ภายใต้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความหนักแน่น มั่นคง มีจิตสำนึกทางสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงาน และใช้ความรู้ทางกฎหมายในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ


สาขาที่เปิดสอน

สาขากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สาขากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ
สาขากฎหมายมหาชน
สาขาวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม
สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีความจำดี มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความสามารถในการเขียนและการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี รักการอ่าน รักการค้นคว้า มีความเป็นธรรม มีความกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้อง มีทักษะและกระบวนการคิดที่เป็นระบบ


แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพ และยังสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ ทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ตั้งสำนักงานทนายความ สามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแพ่ง เนติบัณฑิตสภาเพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

สถาบันที่เปิดสอน


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์


ที่มา
www.law.tu.ac.th